การวิเคราะห์เปรียบเทียบกับมรดกวัฒนธรรมในประเทศไทย
วาหยัง
- หนังตะลุง
วัฒนธรรมวาหยังและหนังตะลุง เป็นวัฒนธรรมที่มีความใกล้เคียงกัน
ประเภทละครเงา (Shadow plays)
ของลักษณะรูปแบบการเล่นการแสดงที่มีหุ่นเชิดเป็นตัวดำเนินเรื่อง
หนังตะลุงจะเรียกจะเรียกคนเชิดหุ่นว่า “คนชักรูป”
ในขณะที่วาหยังจะเรียกคนเชิดหุ่นว่า “ดาหลัง” และใช้ผ้าขาวซึ่งชาวอินโดฯ เรียกว่า
กลีร์ เป็นจอโดยอาศัยแสงไฟทำให้เกิดเงา
ที่มาของหนังตะลุงนั้นจากข้อมูลที่ปรากฎในหนังสือส่วนใหญ่จะมีที่มาร่วมกันโดยวัฒนธรรมวาหยัง
(อาจจะมีที่มาจากชวาโบราณที่เก่าแก่ในศตวรรษที่ 10)
เกิดขึ้นก่อนหนังตะลุง ส่วนหนังตะลุงนั้นเชื่อว่ามีมาแต่ครั้งสมัย “ศรีวิชัย”
(พุทธศตวรรษที่ 13-18) ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าดินแดนแถบประเทศไทยรับวัฒนธรรมมาจากชวา
แต่ก็ไม่ได้รับมาทั้งหมดโดยเมื่อรับมาแล้วก็มีการปรับรูปแบบให้เข้ากับคนในพื้นที่นั้นๆ
เห็นได้จากเนื้อเรื่องที่แสดงที่มีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา
โดยเริ่มแรกหนังตะลุงเล่นเรื่องรามเกียรติ์ ต่อมาจึงเล่นเรื่องจักรๆ วงศ์ๆ
ซึ่งเอามาจากวรรณคดีบ้าง ดัดแปลงมาจากชาดกบ้างและผูกเรื่องขึ้นเองบ้าง
ในขณะที่วัฒนธรรมวาหยัง
ซึ่งชาวอินโดเนเซียถือว่าเป็นการแสดงอันศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา(วาหยังแปลว่า “เงา”
มาจากคำเก่าแก่ของชวา คือ “วาห์โย” แปลว่า “การเผยให้เห็นซึ่งการดลใจทางวิญญาณ”)
ซึ่งหัวหน้าครอบครัวจัดให้มีขึ้นเพื่ออัญเชิญดวงวิญาณของบรรพบุรุษกลับมาสู่โลกเพื่อที่จะสามารถติดต่อสื่อสารกับลูกหลานและใช้ในพิธีกรรมต่างๆ
เช่น พิธีแต่งงาน พิธีรับขวัญเด็กแรกเกิด โดยเชื่อว่าวิญญานได้ปรากฎในรูปแบบเงา
เรื่องที่แสดงนั้นมาจากมหากาพย์ของอินเดียคือ รามายณะ และ
มหาภารตะแต่วาหยังนั้นมีหลายประเภทซึ่งแต่ละประเภทนั้นก็จะเล่นตามเรื่องของตนเอง
เช่น วาหยัง จาโรนารัง
มีท้องเรื่องเกี่ยวกับมนต์ดำของราชินีที่ถูกขับไล่ออกจากราชสำนักบาหลี สำหรับวาหยังในแง่สัญลักษณ์ความเชื่อของชาวอินโดเนเซีย
นั้นมองว่า ฉากขาวนั้นหมายถึงโลก ตะเกียงหมายถึงดวงอาทิตย์ ตัวดาหลังหรือคนเชิด
ก็เปรียบดั่งว่าเป็นพระเจ้า เรื่องราวต่างๆนั้นอยู่ในมือของเขา
เป็นผู้กำกับเหมือนกับชีวิตอยู่ในหัตถ์ของพระเจ้า
แต่ทั้ง 2 วัฒนธรรมก็มีสิ่งที่มีลักษณะร่วมกัน คือ ตัวละคร ทั้งหนังตะลุงและวาหยัง
มีตัวละครที่เหมือนกันคือ กษัตริย์, พระ-ฤาษี ตัวนาง, เทพเจ้า
และอาจจะมีตัวละครบางตัวที่ต่างกันบ้างนอกเหนือจากนี้ เช่น หนังตะลุงจะมี เท่า
หนูนุ้ย ยอดทอง เป็นต้น ส่วนวาหยังก็จะมี ปีศาจ
แม่มด เป็นต้น รวมถึงเรื่องราวที่แสดงในระยะแรก นั้นคือเรื่อง
“รามเกียรติ์” ซึ่งมีข้อสันนิษฐานว่าเชื่อว่าศิลปะการเชิดหนังนี้ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย
เพราะอินเดียมีการแสดงเชิดหนังและเชิดหุ่นมาตั้งแต่สมัยโบราณ
วัฒนธรรมอินเดียเจริญและเก่าแก่กว่าชวา
ประวัติศาสตร์ยุคโบราณของชวาได้เห็นการแผ่ขยายอารยธรรมอินเดียเป็นระยะเวลาหลายร้อยปี
ด้วยเหตุนี้ ชวาจึงน่าที่จะเป็นฝ่ายรับการแสดงวายังจากอินเดีย
นอกจากนี้ตัวละครตลกในวายังของชวาที่ชื่อ “ ซีมาร์ ” ( Semar) มีลักษณะที่ละม้ายคล้ายคลึงกับตัวตลกอินเดีย
ที่ปรากฏในละครสันสกฤตอันโด่งดังของอินเดียสมัยคริสต์ศตวรรษที่3-8
นอกจากนี้วัฒนธรรมของวาหยังยังแพร่กระจายไปถึงกัมพูชา
ซึ่งมีวัฒนธรรมหนังใหญ่หรือ สะเบกธมซึ่งเป็นการเชิดที่ใช้เงาเป็นตัวแสดงเช่นกัน
แต่ปัจจุบันวัฒนธรรมเหล่านี้เริ่มเสื่อมถอยลงเนื่องจากปัจจัยหลายๆอย่าง
รวมถึงเนื้อเรื่องของการแสดงก็ได้เปลี่ยนไปบ้าง
เพื่อให้เข้ากับผู้ชมชาวบ้านในพื้นที่นั้นๆ และวัฒนธรรมสมัยใหม่ที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้นต่อคนในพื้นที่ทำให้ความนิยมในวัมนธรรมเหล่านี้นั้นน้อยลง
จากแต่ก่อนที่่เวลามีงานใหญ่ในหมู่บ้านก็จะจ้างคณะหนัง มาเล่นแต่ในปัจจุบันก็ได้เปลี่ยนไปเป็นหนังกลางแปลงแทนเป็นต้น
ผ้าบาติก - ผ้าไหม
ผ้าบาติกและผ้าไหม
เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับการแต่งกายของแต่ละประเทศ
แต่มีความแตกต่างกันทางด้านของลักษณะเนื้อผ้า รวมถึงลวดลายผ้า ผ้าไหมมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและประเทศอินเดีย
การทอผ้าไหมมีขึ้นราว 2,640 ปี
ก่อนคริสตกาล พ่อค้าชาวจีนได้เผยแพร่ผ้าไหมสู่พื้นที่อื่นในแถบเอเชีย
สำหรับประเทศไทยนักโบราณคดีพบหลักฐานที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงซึ่งบ่งชี้ว่ามีการใช้ผ้าไหมเมื่อ
3,000 ปีก่อนใน
ในขณะที่ผ้าบาติกมีผู้สันนิษฐานว่าผ้าบาติกนั้นเดิมทีเป็นของขาวเตอร์กีและชาวอียิปต์ที่นำมายังเปอร์เซียและชาวอินเดียก็ได้นำมาสู่ชวาพร้อมกับการเขียนสี
จากทั้ง 2 กรณีนี้แสดงให้เห็นถึงการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมและเมื่อพื้นที่เหล่านั้นรับวัฒนธรรมไปแล้วก็ไม่ได้รับไปทั้งหมด
มีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับวัฒนธรรมของตนเอง เช่น ลวดลายขของผ้าบาติก
ส่วนใหญ่จะนิยมลงพื้นด้วยสีฟ้าสะท้อนเกี่ยวกับวิถีชีวิตทางทะเลหรือสภาพแวดล้อมของผู้ผลิต
ในขณะที่ผ้าไหมเองก็มีลายต่างๆมากมายที่เกี่ยวกับธรรมชาติ เช่นกัน ได้แก่
ลายน้ำไหล, ลายผีเสื้อ, ลายกาบบัว, ลายพญานาค
ความแตกต่างของผ้าทั้งสองชนิดนี้นอกจากลวดลายแล้วยังมีความแตกต่างกันที่เนื้อผ้าด้วย
โดยผ้าไหม ทำมาจากใยไหม(ไหมมีคุณสมบัติที่ดีเยี่ยมในการระบายอากาศ
ดูดซับความร้อน
ทำให้ร่างกายสบายมีการดูดซับน้ำและระบายความชื้นได้ดีสามารถดูดซับน้ำได้มากกว่าฝ้าย
1.5 เท่า แต่ระบายความชื้นได้เร็วกว่า 50% และดูดซับความร้อนไว้ที่เนื้อผ้าได้
สูงกว่า 13-21% ปกติอุณหภูมิของร่างกาย) ในขณะที่ผ้าบาติกจะทำมาจากผ้าฝ้าย
เรียกว่า กาอิน เคนทอล (ฝ้ายมีคุณสมบัติเนื้อนุ่ม โปร่งสบาย
ระบายความร้อนได้ดี เนื่องจากฝ้ายมีช่องระหว่างเส้นใย
จึงเหมาะกับสภาพอากาศในฤดูร้อน และเมื่อเปียกจะตากแห้งได้เร็ว) นอกจากนี้ในแต่ละท้องถิ่นที่ผลิตผ้าต่างก็มีชื่อเรียกของผ้าที่แตกต่างกันด้วย
เช่น “ผ้าไหมแพรวา” ของชาวเขา, “ผ้าไหมมัดหมี่”
นิยมผลิตกันในภาคอีสาน, “ผ้าไหมยกดอก” นิยมผลิตกันทางภาคใต้, ในขณะที่ก็มีชื่อเรียกเฉพาะตามลักษณะของลวดลาย เช่น บาติก-จ๊อคจา,
บาติก โซโล่, บาติก-เพกาลองงัน เป็นต้น แต่ในปัจจุบันผ้าทั้ง 2 วัฒนธรรมมีวิธีการผลิตแบบสมัยใหม่รวมถึงเป็นสินค้าที่ส่งออกไปยังภูมิภาคต่างๆ
ตามตลาดโลกซึ่งก็สามารถสร้างรายได้สูงให้กับผู้ผลิต
ทำให้การผลิตเริ่มเปลี่ยนรูปแบบจากการผลิตแบบชาวบ้านธรรมดาสู่การผลิตในรูปแบบอุตสาหกรรมในที่สุด
มีดอรัญญิก – กริช
กริช
เป็นศาสตราวุธชนิดหนึ่งที่มีลักษณะปลายแหลม หลากหลายขนาด มีรูปทรงแตกต่างกันไป
ความพิเศษของกริชคือ
มีคมสองคมใช้สำหรับฟัน มีด้ามขนาดสั้นพอเหมาะมือ
มักมีการแกะสลักด้ามและฝักเป็นรูปหรือลวดลายต่างๆ สวยงาม มีการประดับด้ามด้วยเงิน
ทอง หรือทองแดง
ต้นกำเนิดของกริช
เชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งจากแบบฉบับฮินดู-ชวา
แต่ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าปรากฏขึ้นที่ใด พบ
หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดของกริชในเทวสานแห่งหนึ่งในประเทศอินโดนีเซีย
และตรวจสอบพบว่ามีอายุราว 600 ปี
กริช ถือเป็นสัญลักษณ์ของอินโดนีเซีย
เป็นศาสตราวุธประจำกายและเครื่องบ่งบอกความเป็นชายชาตรี
ทั้งยังถูกจัดเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์อย่างหนึ่งของพระมหากษัตริย์ชวาและมาเลเซีย
บ่งบอกถึงฐานะทางสังคม เศรษฐกิจ และยศถาบรรดาศักดิ์ของผู้เป็นเจ้าของและวงศ์ตระกูล
ในอดีตการผลิตกริชออกมาแต่ละชิ้นจะต้องมีพิธีกรรมคือ ผู้ทำและผู้สั่งทำจะประสานจิตภาวนาหรืออำนาจจิตเข้าด้วยกัน
แล้วเริ่มทำในฤกษ์ยามใดยามหนึ่งและเสร็จในฤกษ์ยามในยามหนึ่งชัดเจน
ทำให้เป็นกริชที่มีจิตวิญญาณ
การทำกริชประกอบขึ้นมาแต่ละเล่มนั้นล้วนมีความสัมพันธ์กับปรากฏการณ์ธรรมชาติอำนาจ
ชีวิตและเลือดเนื้อของเจ้าของกริช
กริชเล่มหนึ่งๆ อาจต้องสรรหาเหล็กถึง
20
ชนิดมาหลอมรวมกันด้วยกระบวนการและพิธีกรรมที่ถูกต้องสมบูรณ์แบบตามความเชื่อและกระบวนการทางไสยศาสตร์
กริชได้ถูกยกย่องเป็นมรดกทางวัฒนรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ในปี พ.ศ.
2551 โดยองค์การยูเนสโก
มีดอรัญญิก คือมีดที่มีลักษณะเด่นเป็นเฉพาะตัว
มีความคมเป็นเลิศ ทนทาน สวยงามประณีต ตัวมีดคมบางใช้เหล็กอย่างดี ลักษณะสำคัญคือ มีตราตาที่ประทับบนตัวมีด
แสดงให้เห็นว่าเป็นมีดอรัญญิกแท้ มีดอรัญญิกที่ผลิตทั่วไปมีด้วยกัน
4 ตระกูล ได้แก่ มีดตระกูลเกษตรกรรม มีดตระกูลคหกรรม มีดตระกูลอาวุธและมีดตระกูลอื่นๆ
มีความแตกต่างหลากหลายไปตามขนาดและความแตกต่างของวัสดุที่ใช้ในการผลิตของชิ้นส่วนองค์ประกอบต่างๆ
ต้นกำเนิดของการทำมีดอรัญญิกคือ
หมู่บ้านต้นโพธิ์และหมู่บ้านไผ่หนอง แต่เหตุที่ได้ชื่อว่า
มีดอรัญญิกเพราะอรัญญิกเป็นชื่อหมู่บ้านที่มีตลาดซึ่งเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนสำคัญที่ชาวบ้านผลิตมีดนำไปขาย
การคิดค้นมีดอรัญญิกเกิดจากชาวหมู่บ้านต้นโพธิ์และหมู่บ้านไผ่หนอง
ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประชากรของทั้งสองหมู่บ้านเป็นชาวเวียงจันทน์ ประเทศลาว
ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้ตั้งแต่ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์
ซึ่งชาว-เวียงจันทน์กลุ่มนี้มีอาชีพทำทองและตีเหล็กติดตัวมา
และได้ยึดอาชีพตีมีดเป็นหลักเพราะสร้างรายได้ดี ซึ่งได้ประกอบอาชีพตีมีดอรัญญิกมาเป็นเวลากว่า
200 ปีจนถึงปัจจุบัน มีดอรัญญิกได้ถูกยกย่องเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของไทย
เมื่อปี พ.ศ.2552 โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
กระทรวงวัฒนธรรม
ทั้งกริชและมีดอรัญญิกถูกทำขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอย
ผู้คนต้องการความแหลมคมของใบมีดเพื่อป้องกันร่างกายจากความอันตรายของคนและสิ่งแวดล้อม
สิ่งที่เหมือนกันอีกประการหนึ่งคือ การมีครู คือความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกปักรักษา
บุคคลต้องเคารพเชื่อฟังต่ออำนาจที่เหนือกว่าตน แต่สิ่งที่แตกต่างของกริช คือ
ถูกทำให้เป็นสัญลักษณ์แทนชายชาตรี แสดงถึงความเหนือกว่าทางเพศ
รวมถึงการใช้กริชเพื่อบ่งบอกสถานะทางสังคมซึ่งได้นำเอาเรื่องชนชั้นเข้ามาผูกติดกับกริช
ทำให้มีกริชมีคุณค่าเหนือกว่ามีดที่ใช้ทั่วๆ ไป แต่ท้ายสุดแล้วกริชและมีดอรัญญิก
ก็เป็นรูปแบบภูมิปัญญาที่เกิดจากความคิด ความรู้
ความสามารถและศักยภาพของชุมชนที่ถ่ายทอดอย่างเป็นกระบวนการ
เป็นสมบัติของชุมชนและควรค่าแก่การอนุรักษ์สืบทอดต่อไปภายภาคหน้า